ดอกเบี้ยเงินฝากเดี๋ยวนี้จะหาเท่าไหร่ก็คงได้ไม่เกิน 1% แต่ดอกเบี้ยบัตรเครดิตกลับสวนทาง มีแต่จะสูงขึ้นๆ แถมถ้าไม่ระวังอาจกลายเป็นหนี้สะสมที่ทำให้เราต้องรับภาระหนี้มากกว่าที่กู้มาจริงหลายเท่า
อันที่จริง AlphaCard อยากบอกว่าถ้าใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย รูดเท่าที่จ่ายไหว และจ่ายครบยอดทุกเดือน ดอกเบี้ยบัตรเครดิตก็จะไม่มีวันมากล้ำกรายเราได้เป็นอันขาด หรือถ้ามีเหตุจำเป็นให้ต้องผ่อนขั้นต่ำหรือกดเงินด่วนออกมาใช้จริงๆ อย่างน้อยก็ควรคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนเอาไว้คร่าวๆ ด้วย
เลือกอ่านเนื้อหาที่ต้องการ
ดอกเบี้ยบัตรเครดิตเกิดขึ้นเมื่อไหร่?
ดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ
- รูดบัตรเครดิตแล้วชำระเงินไม่ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด แบ่งเป็น
- ชำระเงินครบจำนวน แต่ไม่ตรงเวลา จะต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่รูดบัตรจนถึงวันที่ชำระเงิน
- ชำระเงินตรงเวลา แต่ไม่ครบจำนวน หรือเรียกกันว่าจ่ายขั้นต่ำ 10% (ปัจจุบันแบงค์ชาติมีนโยบายช่วยเหลือ ให้จ่ายขั้นต่ำได้ถึง 5% จนถึงสิ้นปี 2565) จะต้องเสียดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก จนถึงวันที่ชำระเงินครบ
- ไม่ชำระเงิน ดอกเบี้ยจากบัตรจะทบไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่
- กดเงินสดฉุกเฉินออกมาจากบัตร นอกจากจะมีดอกเบี้ยแล้ว ยังมีค่าธรรมเนียมอีก 3% ของจำนวนเงินที่กดออกมา และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 7% จากค่าธรรมเนียม
หมายความว่าถ้าเราอยากใช้บัตรเครดิตโดยไร้เรื่องดอกเบี้ยมากวนใจ ก็ควรจ่ายเต็มจำนวนภายในวันที่กำหนด และไม่กดเงินสดฉุกเฉินจากบัตรนั่นเอง
ทำไมจึงควรระวังดอกเบี้ยบัตรเครดิต?
โดยทั่วไปแล้ว อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะสูงกว่าดอกเบี้ยสินเชื่อประเภทอื่นๆ
เมื่อเกิดการเรียกเก็บดอกเบี้ยขึ้นแล้ว ธนาคารจะเรียกเก็บดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันแรกที่รูดบัตรจนกระทั่งได้รับชำระครบ ยิ่งจ่ายช้า ดอกเบี้ยก็ยิ่งเพิ่ม
เมื่อไหร่ที่เริ่มจ่ายขั้นต่ำแล้ว การใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นก็จะไม่มีระยะปลอดดอกเบี้ย และถูกคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่รูดบัตรเช่นกัน หากเริ่มจ่ายขั้นต่ำแล้วยังรูดไม่ทันระวัง ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยก็จะยิ่งทบกันไปเรื่อยๆ
ในบางกรณี เมื่อมีการคิดดอกเบี้ยแล้ว หากลูกหนี้ยังไม่ไปจ่ายภายในเวลาที่กำหนดจนเกิดการโทรศัพท์เพื่อทวงถาม อาจยังมีค่าทวงถามหนี้เพิ่มเติมขึ้นมาอีก
เพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตอยู่ที่เท่าไหร่?
ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงค์ชาติ ได้กำหนดเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตไว้ที่ 16% (ปรับลดจากเดิมที่ 18%)
คิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตอย่างไร?
ตัวอย่างที่ 1 รูดบัตรแล้วจ่ายขั้นต่ำ
นาย ก รูดบัตรเพื่อซื้อสินค้าในวันที่ 1 มิถุนายน เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท โดยบัตรเครดิตของนาย ก จะตัดยอดในวันที่ 10 และครบกำหนดชำระวันที่ 25 โดยรอบบิลนี้ นาย ก จ่ายขั้นต่ำ 10% ที่ 1,000 บาทในวันที่ครบกำหนดพอดี
ในรอบบิลถัดมา หากนาย ก ไม่ได้ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพิ่มอีก รอบนี้ธนาคารจะเรียกเก็บยอดเงินต้นคงเหลือ พร้อมกับดอกเบี้ยที่แยกคิดเป็น 2 ส่วน
สูตรการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิตมีอยู่ว่า
---------------------------------------------------------
365 (หรือ 366 แล้วแต่จำนวนวันของปีนั้นๆ)
ส่วนแรก คือ เงินต้น 10,000 บาท นับจากวันที่ 1 มิถุนายนที่รูดบัตรจนถึงวันที่ 10 ที่สรุปยอด และจากวันที่ 11 จนถึงวันที่ 25 มิถุนายนที่นาย ก ชำระขั้นต่ำ 1,000 บาท คือ
-----------------------------
365
= 43.84 บาท
-----------------------------
365
= 65.75 บาท
เมื่อนำตัวเลขผลลัพธ์ที่ได้มารวมกัน จะได้เท่ากับ 109.59 บาท
ในกรณีนี้หากเข้าใจวิธีการคิดเบื้องต้นแล้ว อาจใช้สมการคำนวณแบบรวบยอดตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงวันที่ 25 มิถุนายนเลยก็ได้เช่นกัน โดยสมการคือ
----------------------------
365
= 109.59 บาท
ส่วนที่สอง คือ ดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือหลังจ่ายงวดแรกไปแล้ว ซึ่งจะเหลือ 19,000 บาท โดยนับจากวันที่ 26 มิถุนายนหลังจ่ายงวดแรก ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม ที่สรุปยอด
----------------------------
365
= 65.75 บาท
เท่ากับว่าในเดือนกรกฎาคม นาย ก จะต้องจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรวมแล้ว 175.34 บาท
หลังจากได้รับบิลในเดือนกรกฎาคมแล้ว ความเป็นไปได้ของนาย ก ที่จะปิดหนี้มี 3 แบบ
กรณีที่ดีที่สุด คือนาย ก จ่ายเงินต้นและดอกทั้งหมดภายในวันที่สรุปยอดครั้งที่สอง เพื่อไม่ให้มีดอกเบี้ยเพิ่ม เดือนต่อมาก็จะไม่ถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยอีกต่อไป
กรณีที่ดีรองลงมา คือนาย ก จ่ายเงินต้นและดอกทั้งหมดหลังจากวันที่สรุปยอด แต่ไม่เกินกำหนดชำระ คือระหว่างวันที่ 11-25 กรกฎาคม แม้เงินต้นจะจ่ายหมดแล้ว แต่ในบิลเดือนสิงหาคม (เดือนที่ 3) นาย ก จะยังถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยระหว่างวันที่ 11 กรกฎาคมจนถึงวันที่นำเงินไปจ่าย โดยใช้สูตรเหมือนกับด้านบน
กรณีที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ คือนาย ก ตัดสินใจจ่ายขั้นต่ำต่อไปเรื่อยๆ ก็จะคิดดอกเบี้ยตามวงจรด้านบนไปเรื่อยๆ นั่นเอง
ตัวอย่างที่ 2 กดเงินสดฉุกเฉินจากบัตรเครดิต
นาย ข กดเงินจากบัตรในวันที่ 1 มิถุนายน เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท โดยบัตรเครดิตของนาย ข มีค่าธรรมเนียมการกดเงิน 3% จะตัดยอดในวันที่ 10 และครบกำหนดชำระวันที่ 25
ในกรณีที่เป็นการกดเงินจากบัตร เราจะต้องคิดค่าธรรมเนียม 3% เข้าไปด้วย สูตรการคิดดอกเบี้ยจึงจะเป็นแบบนี้
-----------------------------------------------------------------------
365 (หรือ 366 แล้วแต่จำนวนวันของปีนั้นๆ)
ส่วนแรก ในบิลงวดแรก คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่กดเงินจนถึงวันที่สรุปยอด คือวันที่ 1 ถึงวันที่ 10
-----------------------------------
365
= 52.05 บาท
ส่วนที่สอง หากนาย ข จ่ายเงินคืนครบในวันที่ 25 มิถุนายน ในบิลงวดถัดมา ยังจะมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่สรุปยอดจนถึงวันที่จ่ายเงินคืน นับจากวันที่ 11 ถึงวันที่ 25
------------------------------------
365
= 78.08 บาท
รวมดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่นาย ข ต้องชำระ เป็นเงิน 130.13 บาท (ยังไม่รวม VAT)
AlphaCard เข้าใจว่าต่อให้จะพยายามหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยบัตรเครดิตแค่ไหน แต่ในยามฉุกเฉินที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ บางคนก็อาจจำเป็นต้องทยอยจ่ายขั้นต่ำหรือกดเงินจากบัตรเครดิตจริงๆ เพราะฉะนั้นเราจึงอยากให้ทุกคนคิดและคำนวณให้รอบคอบก่อนจะตัดสินใจทำรายการที่ทำให้เกิดดอกเบี้ยขึ้นมา หากรู้สึกว่าอาจเกิดโอกาสที่ต้องการเงินฉุกเฉินจริงๆ บัตรกดเงินสด อาจเป็นอีกตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า